วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน แวะมาทักทายกันเยอะๆนะค่ะ

                                         

 ชื่อนางสาว กนกอาภา ธนะนู  ชื่อเล่น   อ้อม  กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ชั้นปีที่3 คณะศึกษาศาสตร์  สาขา  การศึกษาปฐมวัย  
            เป็นคนอัธยาศัยดีค่ะ  ชอบคุยกับคนแปลกหน้า  โดยเฉพาะเพื่อนๆที่เรียน internet  ใน sec เดียวกัน ไม่รู้จัก แต่จะเข้าไปถามถ้ามาสาย  อิอิ  ร่าเริงค่ะ  กินง่ายนอนง่ายค่ะ  เป็นคนมีความมั่นใจในที่ที่คนอื่นไม่มั่นใจ (ฉายเดี่ยว)  เป็นคนเอ๋อๆขี้ลืม  ชอบความสวยความงาม  อยากหุ่นดี   รักเด็กค่ะ(เด็กอนุบาลนะ)
ไม่ชอบคนโอ้อวด เอาเปรียบ ไม่ชอบคนขี้อิจฉา ที่พูดนี้ อ้อมไม่ได้มีนะค่ะ  อิอิ

สุดท้าย  ถ้าอยากรู้จักให้มากกว่านี้ก็เข้ามาทักทายกันเยอะๆนะค่ะ   (สถานะภาพ  กำลังเรียนอยู่ )

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

รวมเรื่องสั้น นิทานปันแง่คิด

นิทาน สอนคุณธรรมด้านความขยัน - ขุมทรัพย์ในไร่องุ่น           ที่ไร่องุ่นแห่งหนึ่ง มีพ่อผู้สูงอายุกับลูกชายจอมขี้เกียจ 3 คน อาศัยอยู่ต่อมาพ่อล้มป่วยลงและก่อนที่แกจะใกล้สิ้นลมหายใจ ได้เรียกลูกชายทั้ง 3 มาสั่งเสียว่า อย่าขายที่ดิน เพราะพ่อได้ซ่อนขุมทรัพย์มหาศาลเอาไว้ให้ขุดดิน พรวนดิน ขุดหาให้ทั่วทุกตารางนิ้วของไร่ เมื่อพ่อได้สิ้นใจตายลงไปแล้ว ลูกชายทั้ง 3 ก็ลงมือและตั้งหน้าตั้งตา ไถคราดพรวนดินพวกเขาก็ไม่พบแม้แต่เศษเงินอย่างที่พ่อได้บอกไว้ หนึ่งปีผ่านไปไร่องุ่นที่พวกเค้าตั้งหน้าตั้งตาขุดพรวนดิน เพื่อหาขุมทรัพย์นั้นกลับมาเกิดผล ออกดอกออกผลออกมา และเป็นเช่นนั้นลูกชายทั้ง 3 จึงหันมาช่วยกันนำผลองุ่นเหล่านั้นออกขาย และพวกเขารู้ว่าขุมทรัพย์ที่พ่อพูดถึงนั้น หมายถึงการทำงานหนัก ขยันขันแข็ง เอาหงาดเหงื่อแรงงานเข้าแลกในที่ดินที่พ่อของพวกเขาได้ ทิ้งไว้ให้มากกว่านั่นเอง
          คติเตือนใจคือ     ความขยันทำให้ทำงานสำเร็จ

นิทานสอนคุณธรรมด้านความ ประหยัด - คนขี้เหนียวกับทองคำ
          เศรษฐีคนหนึ่งเป็นคนขี้เหนียว เขามักนำทรัพย์สมบัติฝังดินไว้รอบบ้าน ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยความกลัวคนขโมย ต่อมาเขาจึงได้นำทรัพย์สมบัติ ไปขายแล้วซื้อเป็นทองคำได้หนึ่งแท่ง และเศรษฐีต้องเสียใจ เพระเสียทรัพย์ที่คนมาทิ้งไว้
          คติเตือนใจคือ     การมี ทรัพย์และประหยัดออมทรัพย์เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องรู้จักประมาณการใช้ทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ด้วย


นิทานสอนคุณธรรมความซื่อสัตย์ - คนตัดไม้กับเทพารักษ์

          คนตัดไม้คนหนึ่งนั่งร้องไห้อยู่ริมลำธาร เพราะทำขวานของตนเองตกลงไปในน้ำ เทพารักษ์สงสารจึงปรากฎกายช่วยเหลือ โดยครั้งแรกงมขวานทองคำ ครั้งที่สองงมขวานเงินขึ้นมาให้ คนตัดไม้นั้นเป็นคนซื่อสัตย์จึงปฏิเสธว่า ไม่ใช่ขวานของตน จนเทพารักษ์งมขวานเหล็กขึ้นมา เขาจึงยอมรับ เทพารักษ์ตอบแทนความซื่อสัตย์ด้วยการมอบขวานทองคำและเงินให้ด้วย เพื่อนบ้านคนหนึ่งทราบเรื่อง เกิดความละโมบ จึงไปที่ลำธารและทำขวานหล่น แต่ด้วยความไม่ซื่อสัตย์ ทำให้เขาไม่ได้ขวานคืนแม้กระทั่งขวานขอตนเอง
          คติเตือนใจคือ     จงซื่อ สัตย์และจงพอใจในสิ่งที่เป็นของตนไม่โลภมาก


นิทานสอนคุณธรรมความมีวินัย - จันทโครพ

          จันทโครพเจ้าชายเมืองพาราณสีออกแสวงหาพระอาจารย์ และได้เรียนรู้จนสำเร็จวิชาอันแกร่งกล้า จึงเดินทางกลับเมือง ในระหว่างทางพระองค์ได้ผอบที่พระอาจารย์มอบให้นำกลับเมือง และกำชับให้เปิดเมื่อถึงเมืองแล้ว แต่จันทรโครพไม่รักษาวินัยรักษาคำมั่นที่มอบให้
          คติเตือนใจคือ     ควร รู้จักการยับยั้งความอยากรู้อยากเห็น มีวินัยต่อตนเอง ช่วยไม่ให้เกิดภัยพิบัติได้


นิทานสอนคุณธรรมความสุภาพ - พิกุลทอง

          หญิงหม้ายคนหนึ่งมีลูกสาว 2 คนโตชื่อ มะลิ คนที่สองชื่อ พิกุล หญิงหม้ายนั้นรักมะลิมาก เพราะมีรูปร่างหน้าตาและนิสัยเหมือนนาง ส่วนพิกุลเป็นหญิงสาวที่หน้าตาสะสวย กิริยามารยาทดี พูดจาไพเราะ และน้ำใจงาม พิกุลต้องทำงานหนักเนื่องจากความลำเอียงของมารดา แต่ด้วยความมีน้ำใจต่อคนอื่น ทำให้พิกุลได้รับพรจากรุกขเทวดาให้มีดอกพิกุลทองร่วงออกมาจากปากทุกครั้งที่ พูด หญิงหม้ายมีความละโมบได้บีบคั้นให้พิกุลทองพูดเพื่อเอาทองคำ และให้มะลิไปขอพรรุกขเทวดา แต่มะลิมีนิสัยหยาบช้าจึงได้รับผลตรงกันข้ามกับพิกุล พิกุลถูกมารดาทำร้ายต้องหนีออกจากบ้านได้พบกับเข้าชายรูปงามและครองคู่กัน ต่อมาอย่างมีความสุข
          คติเตือนใจคือ    ความมี น้ำใจและความสุภาพเป็นเครื่องผูกมิตรต่อผู้อื่น


นิทานสอนคุณธรรมความสะอาด - นางอุทัยเทวี

          อุทัยเทวีเป็นธิดาของรุกขเทวดาและนางนาค นางต้องพลัดมามาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงปกป้องตนเองด้วยการอาศัยอยู่ในร่างของคางคก ต่อมาตายายได้มาพบ นางจึงขอไปอาศัยอยู่ด้วย อุทัยเทวีช่วยเหลือตอบแทนตายายที่เลี้ยงดูตนเองโดยออกมาจากร่างคางคก และทำงานต่างๆ ในบ้าน จนบ้านเรือนสะอาดเรียบร้อย อุทัยเทวีเติบโตเป็นสาวสวยงาม เจ้าชายสุทราชกุมารได้พบกับนางก็หลงรัก และให้พระราชบิดามาสู่ขอ ตายายได้ขอให้สร้างสะพานทองจากพระราชวังมาถึงบ้าน ทำให้พระราชากริ้วมากและตรัสให้ตายายสร้างปราสาทหลังใหญ่ให้เสร็จภายใน 7 วันเช่นกัน อุทัยเทวีได้เนรมิตปราสาทและเจ้าชายได้ตั้งจิตอธิษฐานขอสะพานทองจากเทวดา ในที่สุดทุกอย่างก็จบลงด้วยความสุข
          คติเตือนใจคือ     การ ประพฤติเป็นคนดี ขยัน กตัญญู ส่งผลให้ได้รับผลบุญที่ดี


นิทานสอนคุณธรรมสามัคคี - นกกระจาบ

          นกกระจาบฝูงหนึ่งถูกนายพรานใช้ตาข่ายจับไป หัวหน้านกกระจาบและนกที่เหลือได้หาวิธีเพื่อให้รอดพ้นจากตาข่าย เมื่อฝูงนกถูกนายพรานดับจับได้ใช้กลวิธีความสามัคคี ทำให้รอดพ้นจากตาข่ายนายพรานได้อย่างปลอดภัย
          คติเตือนใจคือ     คนเดียว หัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนกลับบ้านได้

นิทานสอนคุณธรรมมีน้ำใจ - ชาวนากับงูเห่า
          ในเช้าของฤดูหนาววันหนึ่ง ชาวนาผู้หนึ่งเดินออกจากบ้านไปทุ่งนา ระหว่างทางเห็นงูเห่าตัวหนึ่งนอนขดตัวอยู่ เกิดความรู้สึกสงสาร จึงเก็บงูตัวนั้นมากอดไว้ในอ้อมแขน เมื่องูรู้สึกอบอุ่นก็เคลื่อนไหวและกัดฉกชาวนาด้วยเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ชาวนาจึงสิ้นใจตาย
          คติเตือนใจคือ     ความมี น้ำใจเป็นสิ่งที่ดี หากทำคุณกับคนชั่วมีแต่จะได้รับความเดือดร้อน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://ajmai.com/product/project1/index.htm

กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                               กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 
     ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรี  การพูด และตามด้วยกรเขียน  การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
    สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
    * พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด  การฟัง  ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
    * พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
    * พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
    * พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
     กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
     - กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
     - กิจกรรมเล่าเรื่อง
     - กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
     - กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
     - กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
     - กิจกรรมสนทนา
     - กิจกรรมการเขียน
     - กิจกรรมบอกชื่อ
     - กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
     - กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน
 

กิจกรรมพัฒนาการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมพัฒนาการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาจากการฟังแล้วเลียนแบบเสียง  เลียนแบบการใช้คำ  ซึ่งนำไปสู่การพูด การฟังเบื้องต้นของเด็กในโรงเรียนเป็นการฟัง คำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติและฟังเรื่องราวโดยเฉพาะนิทาน แล้วฝึกการถ่ายทอดด้วยการบอก การถาม การสนทนา และการเล่าเรื่อง ซึ่งการฟังนอกจากจะช่วยให้เด็กพัฒนาแล้วยังสร้างความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยลักษณะของการฟังอาจเป็นการฟังจับเรื่อง  การฟังอย่างซาบซึ่ง การฟังเพื่อการวิเคราะห์ หรือการฟังเพื่อรู้และเข้าใจ
       การฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสมและนำไปสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษามากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บคำพูด จังหวะ เรื่องราว จากสิ่งที่ฟังมาสานต่อเป็นคำศัพท์ เป็นประโยคที่จะถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ เด็กจะได้คำศัพท์และมีความสามารถมากขึ้น พัฒนาการด้านการฟังของเด็กตามวัยเป็นดังนี้
       อายุ 2 ขวบ ชอบฟังคำพูดสั้นๆ จูงใจ  ฟังเรื่องสั้นๆ และเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง
       อายุ 3 ขวบ ชอบฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงสัตว์  ยานพาหนะ  เครื่องใช้ในครัวเรือน ชอบฟังนิทาน ฟังได้นานและฟังอย่างตั้งใจ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ ทั้งคำถามและปฏิเสธ ชอบทดลองทำเสียงเหมือน เช่น เสียงรถยนต์  รถไฟ 
       อายุ 4 ขวบ  ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง เช่น ถามคำถามหรือต่อเรื่องได้ วัยนี้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆได้ ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้
       อายุ ขวบ  ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
       อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวได้ และเข้าใจ ถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
       กิจกรรมการฟัง ที่ครูควรจัดได้แก่ การฟังนิทาน ฟังคำสั่ง ฟังการจำแนกเสียงลักษณะของการจัดกิจกรรมอาจนำไปสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆหรือจัดแยกเป็นกิจกรรมอิสระก็ได้

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย


การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

          การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย    
                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป




         เด็กอายุ 0 - 1 ป
               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
               เด็กอายุ 2 - 3 ป
              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
                                                เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก


    หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า
              วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง


ที่มา  : http://www.sk-hospital.com/~ob/parent_school/nitan.htm
เกี่ยวกับผู้เขียน

  • หมวด: บทความสำหรับครู




  • วันที่โพส: 27 เมษายน 2551




  • ผู้เขียน: somkid




  • โพส: 841 รายการ




  • อ่าน: 26840 ครั้ง